วันศุกร์ที่ 29 มกราคม พ.ศ. 2559

แนวความคิดเกี่ยวกับการพัฒนาบุคลิกภาพ

  ความหมายของบุคลิกภาพ
     บุคลิกภาพ   หมายถึง ลักษณะต่างๆ ของบุคคลโดยส่วนรวม นับตั้งแต่ลักษณะทางกาย อุปนิสัยประจำตัว ความสามารถ ความสนใจตลอดจนแบบแผนในการปรับตัวต่อสิ่งแวดล้อม

การพัฒนาบุคลิกภาพ
              เป็นการทำให้รู้จักตนเองก่อนเป็นประการแรกว่า เราเป็นบุคคลประเภทใด มีคุณลักษณะอย่างไร มีข้อดี ข้อเสีย รู้จักหลักในการดำเนินชีวิตประจำวัน ในการทำงานและการเข้าสังคมอย่างไร สิ่งสำคัญที่เป็นพื้นฐานในการพัฒนาบุคลิกภาพคือ ความเป็นผู้ที่มีบุคลิกภาพดี ต้องมีส่วนประกอบที่สำคัญทางด้านร่างกายที่สมบูรณ์และจิตใจที่ดี จึงต้องอาศัยสุขภาพที่ดี กล่าวคือ มีร่างกายแข็งแรง รูปร่างสมส่วน มีความคล่องตัว ว่องไว ปรับตัวได้ง่าย

ทฤษฎีแนวความคิดเกี่ยวกับการพัฒนาบุคลิกภาพ












แนวความคิดตามทฤษฎีของ ซิกมัน ฟรอยด์ ( Sigmund Freud )






         ฟรอยด์ เชื่อว่าพฤติกรรมส่วนใหญ่ของมนุษย์ มีแรงจูงใจมาจากจิตไร้สำนึก ซึ่งมักจะผลักดันออกมาในรูปความฝัน การพูดพลั้งปาก หรืออาการผิดปกติทางด้านจิตใจในด้านต่างๆ เช่น โรคจิต โรคประสาท เป็นต้นยัง เชื่อเกี่ยวกับธรรมชาติของมนุษย์ว่ามนุษย์เกิดมาพร้อมกับแรงขับทางสัญชาตญาณ (Instinctual drive) และเป็นพลังงานที่สามารถเปลี่ยนแปลงและเคลื่อนที่ได้ จิตจึงเป็นพลังงานรูปหนึ่งที่สามารถเปลี่ยนแปลงและไม่หยุดนิ่ง บ้างจะแสดงออกมาในรูปแบบของสัญชาตญาณทางเพศ (Sexual Instinct) แต่ฟรอยด์ไม่ได้หมายถึง ความต้องการทางเพศ นอกจากนี้ ฟรอยด์ยังได้อธิบายว่าสัญชาตญาณจะแสดงออกมาในรูปของพลังทางจิตที่เกี่ยวข้องกับพลังขับทางเพศเรียกว่า พลังลิบิโด (Libido)เป็นพลังที่ทำให้มนุษย์
การทำงานของจิต แบ่งออกเป็น 3 ระดับ คือ
            1. จิตไร้สำนึก ( Unconscious Mind ) การแสดงพฤติกรรมของมนุษย์โดยออกไปโดยไม่รู้ตัว ที่เกิดมาจากพลังของจิตไร้สำนึกซึ่งทำหน้าที่กระตุ้นให้บุคคลแสดงออกไปตามหลักแห่งความพึงพอใจของตน และการทำงานของจิตไร้สำนึกเกิดจากความปรารถนา หรือความต้องการของบุคคลที่เกิดขึ้นในวัยเด็ก ที่ไม่ได้รับการยอมรับ เช่น การถูกห้าม หรือถูกลงโทษ จะถูกเก็บกดไว้ในจิตส่วนนี้
          2. จิตสำนึก ( Conscious Mind ) บุคคลรับรู้ตามประสาทสัมผัสทั้งห้า ที่บุคคลจะมีการรู้ตัวตลอดเวลาว่ากำลังทำอะไรอยู่ คิดอะไรอยู่ คิดอย่างไรเป็นการรับรู้โดยทั่วไปของมนุษย์ ที่ควบคุมการกระทำส่วนใหญ่ให้อยู่ในระดับรู้ตัว (Awareness) และเป็นพฤติกรรมที่แสดงออกมา โดยมีเจตนาและมีจุดมุ่งหมาย
         3. จิตก่อนสำนึก ( Preconscious Mind ) เป็นส่วนของประสบการณ์ที่สะสมไว้ หรือเมื่อบุคคลต้องการนำกลับมาใช้ใหม่ก็สามารถระลึกได้และสามารถนำกลับมาใช้ในระดับจิตสำนึกได้ และเป็นส่วนที่อยู่ใกล้ชิดกับจิตรู้สำนึกมากกว่าจิตไร้สำนึก
จะเห็นได้ว่าการทำงานของจิตทั้ง 3 ระดับจะมาจากทั้งส่วนของจิตไร้สำนึกที่มีพฤติกรรม ส่วนใหญ่เป็นไปตามกระบวนการขั้นปฐมภูมิ (Primary Process)เป็นไปตามแรงขับสัญชาตญาณ ( Instinctual Drives ) และเมื่อมีการรับรู้กว้างไกลมากขึ้นจากตนเองไปยังบุคคลอื่นและสิ่งแวดล้อม พลังในส่วนของจิตก่อนสำนึกและจิตสำนึก จะพัฒนาขึ้นเป็นกระบวนการขั้นทุติยภูมิ (Secondary Process)
โครงสร้างของบุคลิกภาพ (Structure of Personality)
ฟรอยด์ เชื่อว่าโครงสร้างของบุคลิกภาพจะประกอบด้วย อิด (Id) อีโก้ (Ego) และซูเปอร์อีโก้ (Superego) โดยจะอธิบายเป็นข้อๆ ดังนี้

           1. อิด ( Id ) จะเป็นต้นกำเนิดของบุคลิกภาพ และเป็นส่วนที่ติดตัวมนุษย์มาตั้งแต่เกิด Id ประกอบด้วยแรงขับทางสัญชาตญาณ ( Instinct ) ที่กระตุ้นให้มนุษย์ตอบสนองความต้องการ ความสุข ความพอใจ ในขณะเดียวกันก็จะทำหน้าที่ลดความเครียดที่เกิดขึ้น การทำงานของ Id จึงเป็นไปตามหลักความพอใจ (Pleasure Principle)
           2. อีโก้ ( Ego ) จะเป็นส่วนของบุคลิกภาพที่ทำหน้าที่ประสาน อิด และ ซูเปอร์อีโก้ ให้แสดงบุคลิกภาพออกมาเพื่อให้เหมาะสมกับความเป็นจริง และขอบเขตที่สังคมกำหนดเป็นส่วนที่ทารกเริ่มรู้จักตนเองว่า ฉันเป็นใคร Ego ขึ้นอยู่กับหลักแห่งความเป็นจริง(Reality Principle)ที่มีลักษณะของการใช้ความคิดในขั้นทุติยภูมิ (Secondary Process of Thinking) ซึ่งมีการใช้เหตุผล มีการใช้สติปัญญา และการรับรู้ที่เหมาะสม และอีโก้ (Ego) เป็นส่วนที่อยู่ในระดับจิตสำนึกเป็นส่วนใหญ่
          3. ซูเปอร์อีโก้ (Superego)เป็นส่วนที่เกี่ยวข้องกับศีลธรรมจรรยา บรรทัดฐานของสังคม ค่านิยม และขนบธรรมเนียมประเพณีต่างๆ ซึ่งทำหน้าที่ผลักดันให้บุคคลประเมินพฤติกรรมต่างๆ ทีเกี่ยวข้องกับมโนธรรม จริยธรรมที่พัฒนามาจากการอบรมเลี้ยงดู โดยเด็กจะรับเอาค่านิยม บรรทัดฐานทางศีลธรรมจรรยา
พัฒนาการทางบุคลิกภาพ
ฟรอยด์ ได้อธิบายถึงการพัฒนาการทางบุคลิกภาพ ที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาการทางเพศ (Stage of Psychosexual Development) จากความเชื่อเกี่ยวกับสัญชาตญาณทางเพศในเด็กทารกที่แสดงออกมาในรูปพลังของ ลิบิโด (Libido) และสามารถเคลื่อนที่ไปยังส่วนใดส่วนหนึ่งของร่างกายและบริเวณที่พลังลิบิโดไปรวมอยู่เรียกว่า ที่ของความรู้สึกพึงพอใจ (Erogeneous Zone) เมื่อพลังลิบิโดไปอยู่ในส่วนใดก็จะก่อให้เกิดความตึงเครียด (Tension) ซึ่งฟรอยด์ แบ่งการพัฒนาบุคลิกภาพออกเป็น 5 ขั้น ได้แก่
        1. ขั้นปาก (Oral Stage) เริ่มตั้งแต่แรกเกิดถึง 1 ขวบ ในวัยนี้ Erogenous Zone จะอยู่บริเวณปาก การได้รับการกระตุ้น หรือเร้าที่ปากจะทำให้เด็กเกิดความพึงพอใจ ทำให้เด็กตอบสนองความพึงพอใจของตนเองโดยการดูด โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การดูดนมแม่จึงเป็นความสุขและความพึงพอใจของเขา
        2. ขั้นทวารหรือขั้นอวัยวะขับถ่าย (Anal Stage) เด็กจะมีอายุตั้งแต่ 1-3 ขวบ ในวัยนี้ Erogenous Zone จะอยู่ที่บริเวณทวาร โดยที่เด็กจะมีความพึงพอใจเมื่อมีสิ่งมากระตุ้น หรือเร้าบริเวณทวารในระยะนี้เด็กเริ่มเป็นตัวของตัวเอง เริ่มมีความพึงพอใจกับความสามารถในการควบคุมอวัยวะของตนเอง โดยเฉพาะอวัยวะขับถ่าย กิจกรรมที่เด็กมีความสุขจะเกี่ยวข้องกับการกลั้นอุจจาระ (Anal Retention) และการถ่ายอุจจาระ (Anal Expulsion) ความขัดแย้งที่มักเกิดขึ้นในขั้นนี้คือ การฝึกหัดการขับถ่าย(Toilet) Training ดังนั้น ถ้าพ่อแม่เลี้ยงดูด้วยความเอาใจใส่ และฝึกการขับถ่ายให้เป็นไปอย่างเหมาะสม
         3. ขั้นอวัยวะเพศตอนต้น (Phallic Stage) เริ่มตั้งแต่ 3 - 5 ขวบ ในขั้นนี้ Erogenous Zone จะอยู่ที่อวัยวะเพศ โดยที่เด็กเกิดความรู้สึกพึงพอใจกับการจับต้องอวัยวะเพศ เพราะมีความพึงพอใจทางเพศอยู่ที่ตนเองในระยะแรก ถ้าเด็กมีเพศตรงข้ามกับพ่อแม่เด็ก จะทำให้เด็กชายรักใคร่ และหวงแหนแม่จึงเกิดความรู้สึกอิจฉา เด็กหญิงจะรักใคร่และหวง แหนพ่อ จึงรู้สึกอิจฉาและเป็นศัตรูกับแม่
         4. ขั้นแฝง (Latency Stage) เริ่มตั้งแต่ อายุ 6 - 11 ปี ในขั้นนี้ Erogenous Zone จะไม่ปรากฏอยู่ส่วนใดส่วนหนึ่งของร่างกายโดยเฉพาะ เสมือนขั้นแฝงของพลัง Libido เป็นระยะพักในเรื่องเพศ และจินตนาการทางเพศ

         5. ขั้นอวัยวะเพศตอนปลาย (Genital Stage) เริ่มจาก 12 ขวบเป็นต้นไป ในระยะนี้เด็กจะเข้าสู่วัยรุ่น ไปจนถึงวัยผู้ใหญ่และวัยชรา โดยมี Erogonous Zone จะมาอยู่ที่อวัยวะเพศ (Genitel Area) เมื่อเด็กย่างเข้าสู่วัยรุ่นจะมีการเปลี่ยนแปลงทางร่างกายทั้งหญิงและชายต่างๆ กัน และมีพัฒนาการทางร่างกายมีความสามารถในการสืบพันธุ์ ้ยังมีการเปลี่ยนแปลงทางอารมณ์ มีความต้องการทางเพศอย่างรุนแรง ต้องการเป็นตัวของตัวเอง ต้องการเป็นอิสระ

แนวความคิดตามทฤษฎีของ อีริก อีริคสัน ( Erik Erikson )



17
แนวคิด
        แต่ละคนจะมีประสบการณ์กับวิกฤตภายในเชื่อมโยงกับแต่ละขั้นของชีวิต (จิตวิทยาสังคม) 8 ครั้ง ซึ่งในสามขั้นแรกถือเป็นช่วงที่สำคัญที่สุดซึ่งเกิดในช่วงปฐมวัย คือ ขั้นที่ 1 การเชื่อใจ-การไม่เชื่อใจ ขั้นที่ 2 การเป็นตัวของตัวเอง-ความละอายใจและความสงสัย ขั้นที่3 การคิดริเริ่ม-การรู้สึกผิด
ทฤษฎีจิตสังคม (Psychological Theory) ได้แบ่งพัฒนาทางบุคลิกภาพออกเป็น 8 ขั้น คือ
        ขั้นที่ 1 ความไว้วางใจ – ความไม่ไว้วางใจ (Trust vs Mistrust)
          ซึ่งเป็นขั้นในวัยทารก อีริควันถือว่าเป็นรากฐานที่สำคัญของพัฒนาการในวัยต่อไป เด็กวัยทารกจำเป็น จะต้องมีผู้เลี้ยงดูเพราะช่วยตนเองไม่ได้ ผู้เลี้ยงดูจะต้องเอาใจใส่เด็ก ถึงเวลาให้นมก็ควรจะให้และปลด เปลื้องความเดือดร้อน ไม่สบายของทารกอันเนื่องมาจากการขับถ่าย เป็นต้น
          ขั้นที่ 2 ความเป็นตัวของตัวเองอย่างอิสระ – ความสงสัยไม่แน่ใจตัวเอง (Autonomous vs Shame and Doubt)  อยู่ในวัยอายุ 2-3 ปี วัยนี้เป็นวัยที่เริ่มเดินได้ สามารถที่จะพูดได้และความเจริญเติบโตของร่ายการช่วย ให้เด็กมีความอิสระ พึ่งตัวเองได้ และมีความอยากรู้อยากเห็น อยากจับต้องสิ่งของต่างๆ เพื่อต้องการสำรวจ ว่าคืออะไร เด็กเริ่มที่อยากเป็นอิสระ เป็นตัวของตัวเอง
          ขั้นที่ 3 การเป็นผู้คิดริเริ่ม – การรู้สึกผิด (Initiative vs Guilt)
          วัยเด็กอายุประมาณ 3-5 ปี อีริคสันเรียกวัยนี้ว่าเป็นวัยที่เด็กมีความคิดริเริ่มอยากจะทำอะไรด้วยตนเอง จากจินตนาการของตนเอง การเล่นสำคัญมากสำหรับวัยนี้เพราะเด็กจะได้ทดลองทำสิ่งต่างๆ จะสนุกจาก การสมมติของต่างๆ เป็นของจริง เช่น อาจจะใช้ลังกระดาษเป็นรถยนต์ ขับรถยนต์เหมือนผู้ใหญ่
          ขั้นที่ 4 ความต้องการที่จะทำกิจกรรมอยู่เสมอ – ความรู้สึกด้อย (Industry vs Inferiority)
          อีริคสันใช้คำว่า Industry กับเด็กอายุประมาณ 6-12 ปี เนื่องจากเด็กวัยนี้มีพัฒนาการด้านสติปัญญาและ ทางด้านร่างกาย อยู่ในขั้นที่มีความต้องการที่จะอะไรอยู่เมือไม่เคยว่าง
          ขั้นที่ 5 อัตภาพหรือการรู้จักว่าตนเองเป็นเอกลักษณ์ – การไม่รู้จักตนเองหรือสับสนในบทบาทใน
สังคม (Ego Identity vs Role Confusion) อีริคสันกล่าวว่า เด็กในวัยนี้ที่มีอายุระหว่าง 12-18 ปี จะรู้สึกตนเองว่า มีความเจริญเติบโต โดยเฉพาะ ทางด้านร่างกายเหมือนกับผู้ใหญ่ทุกอย่าง ร่างกายเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว มีการเปลี่ยนแปลงทางเพศทั้ง หญิงและชาย เด็กวัยรุ่นจะมีความรู้สึกในเรื่องเพศและบางคนเป็นกังวลต่อการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว
          ขั้นที่ 6 ความใกล้ชิดผูกพัน – ความอ้างว้างตัวคนเดียว (Intimacy vs Isolation) วัยนี้เป็นวัยผู้ใหญ่
ระยะต้น (Young Adulthood) เป็นวัยที่ทั้งชายและหญิงเริ่มที่จะรู้จักตนเองว่ามีจุดมุ่งหมายในชีวิตอย่างไร เป็นวัยที่พร้อมที่จะมี ความสัมพันธ์กับเพื่อนต่างเพศในฐานะเพื่อนสนิทที่จะเสียสละให้กันและกัน รวมทั้งสามารถยินยอม เห็นใจซึ่งกันและกันโดยไม่เห็นแก่ตัวเลย และมีความคิดตั้งตนเป็นหลักฐานหรือคิดสนใจที่จะแต่งงานมี บ้านของตนเอง
          ขั้นที่ 7 ความเป็นห่วงชนรุ่นหลัง – ความคิดถึงแต่ตนเอง (Generativity vs Stagnation)
 อีริควันอธิบายคำว่า Generativity ว่าเป็นวัยที่เป็นห่วงเพื่อนร่วมโลกโดยทั่วไป หรือเป็นห่วงเยาวชน รุ่นหลัง อยากจะให้ความรู้ สั่งสอนคนรุ่นหลังต่อไป คนที่แต่งงานมีบุตรก็สอนลูกหลายคนที่ไม่แต่งงาน
 ถ้าเป็นครูก็สอนลูกศิษย์ ถ้าเป็นนายก็สอนลูกน้อง หรือช่วยทำงานทางด้านศาสนา เพื่อที่จะปลูกฝังให้
คนรุ่นหลังเป็นคนดีต่อไป
          ขั้นที่ 8 ความพอใจในตนเอง – ความสิ้นหวังและความไม่พอใจในตนเอง (Ego Integrity vs Despair) วัยนี้เป็นระยะบั้นปลายของชีวิต ฉะนั้น บุคลิกภาพของคนวัยนี้มักจะเป็นผลรวมของวัย 7 วัยที่ผ่านมา ผู้มีอาวุโสบางท่านยอมรับว่าได้มีชีวิตที่ดีและได้ทำดีที่สุด ยอมรับว่าตอนนี้แก่แล้วและจะมีชีวิตอยู่อย่างมี ความสุข จะเป็นนายของตนเองและมีความพอใจในสภาพชีวิตของตน ไม่กลัวความตาย พร้อมที่จะตาย ยอมรับว่าคนเราเกิดมาแล้วก็จะต้องตาย

แนวความคิดตามทฤษฎีของ แฮรี่ สแตค ซัลลิแวน ( Harry Stack Sullivan )


แนวคิดสำคัญ

          ซัลลิแวนใช้วิธีบำบัดคนไข้จากจิตวิเคราะห์มาเป็น ความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล Interpersonal Theory of Psychiatry ทฤษฎีของเขาโยงไปถึงจิตวิทยาบุคลิกภาพเป็นผลมาจากสัมพันธภาพระหว่างบุคคล เขาได้รักษา Schizophrenia (คนไข้โรคจิตชนิดหนึ่ง) ให้หายได้มากมาย
     เขาได้กำหนดโครงสร้างบุคลิกภาพเป็น 3 ประเภทได้แก่
    1.Dynamism พฤติกรรมที่เคยชินเป็นความสัมพันธ์กับคนอื่น เช่นชอบช่วยเหลือ ชอบบ่น เอาเปรียบ
    2. Personification มโนภาพที่คนงาดภาพตยเองและเป็นภาพที่คนอื่นมีสัมพันธภาพกับตน
    3. Cognitive Process กระบวนการคิดเป็นส่วนหนึ่งของบุคลิดภาพมี 3 อย่าง
         3.1 Prototaxic เป็นความคิดระดับทารก ไม่เจาะจง ไม่เข้าใจสิ่งรับรู้ เป็นประสาทสัมผัส
         3.2 Parataxic ความคิดพัฒนาขึ้น เข้าใจสัมพันธภาพสิ่งต่างๆ  จริง/ไม่จริง
         3.3 Syntaxic ใช้สัญลักษณ์ สื่อสารได้ตรงความจริงมากขึ้น แลกเปลี่ยนความคิดเห็นกับผู้อื่น
     แบบแห่งบุคลิกภาพ ผู้มีความสัมพันธ์กับผู้อื่นจะก้าวไปสู่บุคลิกภาพแห่งความเป็นผู้ใหญ่ได้ ส่วนผู้ที่บกพร่องความสัมพันธ์กับผู้อื่น ย่อมแสดงอาการโรคจิตประสาทไว้ 10 ประการ เช่น หมกมุ่นกับตัวเอง

ทฤษฎีสัมพันธภาพระหว่างบุคคลของซัลลิแวน
                
         ซัลลิแวน เห็นว่า สังคมมีส่วนสำคัญต่อการสร้างบุคลิกภาพ โดยเฉพาะอย่างยิ่งสัมพันธภาพระหว่างบุคคลที่ส่งผลต่อการรับรู้ของตนเอง จนทำให้บุคคลปรับเปลี่ยนตนเองไปตามนั้น เขาจึงได้สร้างทฤษฎีชื่อ ทฤษฎีสัมพันธภาพระหว่างบุคคล (The interpersonal Theory)

 แนวคิดที่สำคัญ

1. โครงสร้างบุคลิกภาพ

     ซัลลิแวนเห็นว่า พันธุกรรมมีอิทธิพลอย่างยิ่งต่อการเจริญเติบโตและความสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อมเป็นปัจจัยสำคัญยิ่งต่อการสร้างบุคลิกภาพ โครงสร้างบุคลิกภาพจึงเป็นผลมาจากความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลกับบุคคล บุคคลที่มีความสัมพันธ์ด้วยอาจมีชีวิตอยู่จริงหรือเป็นบุคคลในฝัน ในเทพนิยาย หรือเป็นบุคคลเด่น ๆ ก็ได้ เขาเชื่อว่าบุคลิกภาพเป็นการทำงานประสานกันระหว่าง การแปรเปลี่ยนพลัง (Dynamics)  การสร้างภาพบุคคล(Personification) และกระบวนการคิด (Cognitive Process)
                1.1. การแปรเปลี่ยนพลัง (Dynamics)  เป็นกระบวนการปรับตัวของบุคคล ในการอยู่ร่วมกับผู้อื่น ซึ่งเกิดขึ้นจากการเรียนรู้ถึงความต้องการของผู้อื่นแล้วแสดงพฤติกรรม ตอบสนองความต้องการของผู้อื่น ทั้งที่อาจไม่ได้ต้องการตามนั้น การเรียนรู้เหล่านี้เริ่มต้นตั้งแต่วัยเด็ก เช่น การแกล้งน้อง…ไม่ดี เด็กจะไม่ทำ หรือ การยกมือไหว้ผู้ใหญ่…ดี เป็นต้น ซึ่งจะค่อยๆหลอมรวมเป็นบุคลิกภาพ ซัลลิแวนเชื่อว่า ศูนย์กลสงการผันแปรอยู่ที่ระบบตน (Self System) อันเป็นระบบของการสร้างภาพตนเอง ทำให้รับรู้ตนเองใน 3 ลักษณะ คือ
                                 1. ภาพตนเองที่ว่า “ฉันดี” (Good Me) ซึ่งเป็นผลของประสบการณ์ที่รับการยอมรับจากการอบรมเลี้ยงดูของพ่อแม่ที่ให้ความรู้สึกรักใคร่ อบอุ่น เอาใจใส่ ห่วงใย  ทำให้เกิดความพึงพอใจ
                                2. ภาพตนเองที่ว่า “ฉันเลว” (Bad Me) เป็นประสบการณ์ที่เกิดขึ้นจากการได้การอบรมเลี้ยงดูแบบทอดทิ้ง ไม่เอาใจใส่ ไม่ได้รับการตอบสนองความต้องการ จึงทำให้เด็กเกิดความไม่พอใจ
                                3. ภาพตนเองที่ว่า “ไม่ใช่ฉัน” (Not Me) เกิดจากการอบรมเลี้ยงดูแบบขู่เข็ญหรือทำให้หวาดกลัวอย่างรุนแรงทำให้เกิดความวิตกกังวลสูง จึงแสดงพฤติกรรมออกมาในเชิงปฏิเสธว่า “ไม่ใช่ฉัน”เพราะเป็นสิ่งที่เด็กไม่ต้องการรับรู้
               1.2  การสร้างภาพบุคคล (Personification) เป็นภาพที่บุคคลวาดขึ้นจากการที่ตนได้ไปสัมพันธ์กับคนอื่นภาพเหล่านี้อาจเป็นภาพของตนเองหรือผู้อื่น ซึ่งเป็นภาพที่ถูกต้องหรือไม่ก็ได้ เมื่อภาพเป็นที่ติดตาแล้วก็ยากต่อการเปลี่ยนแปลงและยังมีแนวโน้มที่จะถ่ายโอนไปยังบุคคลอื่นด้วย เช่น ภาพแม่ดีใจ อาจมองว่าผู้หญิงที่เป็นแม่ใจดีทุกคน เป็นต้น
                1.3 กระบวนการคิด (Cognitive Process) ซัลลิแวนเชื่อว่ากระบวนการคิดเป็นส่วนหนึ่งของโครงสร้างบุคลิกภาพเขาได้แบ่งกระบวนการคดออกเป็น 3 ลักษณะ คือ
                          1. โปรโตทาซิก (Prototaxic) เป็นกระบวนการคิดของทารกที่ยังไม่ได้ปรุงแต่ง รับรู้สิ่งต่างๆอย่างไม่เฉพาะเจาะจง ไม่เข้าใจความหมาย ผ่านไปแล้วผ่านไปเลย ไม่ตระหนักถึงการดำรงอยู่ของสิ่งนั้น                 2. พาราทาซิก (Parataxic) เมื่อเด็กพัฒนาความคิดสูงขึ้นจะเริ่มเข้าใจถึงความสัมพันธ์ระว่างสิ่งต่างๆทั้งจริงบ้างไม่จริงบ้างปนกันไป แต่ความคิดของเด็กถือว่าสิ่งที่คิดนั้นเป็นจริง เช่น อุลตราแมน ผ๊ เป็นต้น ความคิดดังกล่าวจะส่งผลต่อบุคลิกภาพของบางคนในอนาคต เป็นต้น
                          3. ซินทาซิก (Syntaxic) เมื่อเด็กมีความสามารถทางงภาษาเพิ่มขึ้นถึงขั้นใช้สัญลักษณ์แล้ว สภาพความเป็น
              จริงกับความจริงมากขึ้น สามารถแลกเปลี่ยนความคิดเห็นได้ สื่อสารกับผู้อื่นได้เข้าใจ

2. การพัฒนาบุคลิกภาพ

                ซัลลิแวนได้แบ่งการพัฒนาบุคลิกภาพตามประสบการณ์เป็น 7  ขั้น  คือ
     1. ขั้นทารก (Infancy) อายุแรกเกิด -18 เดือน วัยนี้จะมีความสุข กับการใช้ปากในการตอบสนองความต้องการอาหารของตนเองด้วยการดูดหรือการเคลื่อนไหวร่างกายด้วยการใช้ประสาทตาสัมผัสกับมือในการดูดนิ้วตนเอง
    2. ขั้นวัยเด็ก (Childhood) อายุ 18 เดือน - 5  เดือน เป็นระยะที่เริ่มหัดพูด ฝึกออกเสียงได้ชัดเจน เริ่มมีเพื่อนและต้องการให้ผู้อื่นยอมรับสถานภาพของตนเอง
    3. ขั้นวัยเยาว์ (Juvenile Era) อายุระหว่าง 5-12 ปี เป็นวัยที่เข้าโรงเรียน พัฒนาการทางร่างกายเร็วมากเริ่มรู้จักสังคม มีการร่วมมือและแข่งขัน เรียนรู้ที่จะควบคุมตนอง
   4. ขั้นก่อนวัยรุ่น (Pre- Adolescence) อายุ 11-13 ปี เริ่มมีวุฒิภาวะทางเพศ มีการกล้าแสดงออกมากขึ้นและยังต้องการความเท่า
เทียมกับผู้ใหญ่
    5. ขั้นวัยรุ่นตอนต้น (Early Adolescence) อายุระหว่าง 13- 17 ปี เป็นวัยที่มีความพอใจในเรื่องเพศ ต้องการคบเพื่อนเดียวกันและต่างเพศ ต้องการความเป็นอิสระไม่อยากพึ่งพาใคร
    6. ขั้นวัยรุ่นตอนปลาย (Late Adolescence) อายุ 17-19 ปี ร่างกายเจริญเต็มที่ มีความคิดสร้างสรรค์ มีความรู้และเข้าใจตนเอง เรียนรู้บทบาทในสังคมได้ดี
    7. ขั้นวัยผู้ใหญ่ (Adulthood) อายุระหว่าง 20-30 ปี เป็นวัยที่มีพัฒนาการทุกอย่างสมบูรณ์เต็มที่สร้างความสัมพันธ์กับผู้อื่นสร้างหลักฐาน มีความรับผิดชอบต่อหน้าที่


แนวความคิดตามทฤษฎีของ จุง ( Jung's Analytical Psychology )






แนวคิดสำคัญ

    จุงความเชื่อว่า บุคลิกภาพของคนเราซึ่งแต่ละคนมีความเป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัวนั้น
มีการสะสมต่อเนื่องมาตลอดนับแต่เริ่มมีชีวิต แต่เขาไม่สู้จะให้ความสำคัญกับเรื่องเพศและอดีตที่ฝังใจเหมือนทฤษฎีของฟรอยด์ เขาเน้นความสำคัญที่ประสบการณ์จากการดำเนินชีวิตของคนเรา โดยเห็นว่ามีส่วนสร้างสมบุคคลมีบุคลิกภาพที่แตกต่างกัน
ซึ่งโดยทั่วไปแล้วบุคลิกภาพของบุคคลแบ่งเป็น 2 แบบ

1. บุคลิกภาพแบบแสดงตัว (extrovert) บุคคลที่มีบุคลิกภาพแบบนี้จะชอบสังคม ชอบเด่น ชอบแต่งตัวดีๆ ชอบนำตัวไปพัวพันกับสิ่งแวดล้อมหรือกับบุคคลอื่นโดยทั่วไป เป็นคนเปิดเผย ชอบการเปลี่ยนแปลง ไม่ชอบเก็บตัว ไม่ชอบอะไรที่ซ้ำซากจำเจ เปลี่ยนแปลงความเคยชินหรือลักษณะนิสัยของตนเองได้ง่ายเพื่อให้เหมาะกับสถานการณ์ที่เปลี่ยนไป
การแสดงออกของอารมณ์เห็นได้ชัดเจน ไม่ว่าจะโกรธ เศร้าโศก ดีใจ เสียใจ หรือเบื่อหน่ายอะไร มีอารมณ์อ่อนไหวเปลี่ยนแปลงรวดเร็ว มีอุปนิสัยที่เปลี่ยนแปลงได้ตามความเหมาะสมของสิ่งแวดล้อมเมื่อเกิดความคับข้องใจมักมีพฤติกรรมในรูปของการป้องกันตัว ( Defense )

2. บุคลิกภาพแบบเก็บตัว (introvert) บุคคลที่มีบุคลิกภาพแบบนี้มักทำหรือคิดโดยผูกพันกับตนเองมากกว่าบุคคลอื่นหรือสิ่งแวดล้อมอื่น เป็นคนลึกลับ ชอบเก็บตัว ไม่ชอบสังสรรค์ ไม่ชอบสังคม ไม่ชอบทำตัวเด่นเมื่ออกงาน ไม่ชอบการเปลี่ยนแปลง ชอบทำอะไรตามกฎเกณฑ์และแบบแผนที่วางเอาไว้ มีหลักการที่แน่นอนในการที่จะควบคุมตนเอง
เมื่อเกิดความคับข้องใจมักมีพฤติกรรมแบบหลบหนี แยกตัวออกไปจากสังคม(Isolation)

        จากลักษณะบุคลิกภาพทั้งสองแบบที่กล่าวมานี้ บุคคลบางคนไม่ถึงกับโน้มเอียงไปในลักษณะใดลักษณะหนึ่งโดยเฉพาะ
คือ เป็นกลางๆ ไม่ชอบเก็บตัวมากไปและไม่ชอบแสดงออกมากไป จุงเรียกพวกที่ 3 นี้ว่าบุคลิกแบบกลางๆ (ambivert) ซึ่งจะเป็นคนแบบธรรมดาๆ ไม่เด่น เป็นพวกที่ผสมผสานอยู่ในคนส่วนใหญ่ทั่วไป



แนวความคิดตามทฤษฎีของ อัลเฟรด แอดเลอร์ (Individual Psychology )





แนวคิดสำคัญ

     อดเลอร์ มีความเชื่อว่า บุคคลโดยพื้นฐานแล้วถูกจูงใจโดยปมด้อย บุคคลบางคนมีความรู้สึกเป็นปมด้อย เมื่อมีร่างกายพิการและมีความต้องการที่จะทำการชดเชยปมด้อยเหล่านั้น ความรู้สึกที่ตนเองมีปมด้อยทำให้เกิดแรงขับที่เรียกว่า ปมเด่น ตัวอย่างเช่น นักกวีชาวอังกฤษ ลอร์ด ไบรอน (Lord Byron) ชาพิการเป็นแชมป์ว่ายน้ำ บีโธเวน(Beethoven) หูพิการได้สร้างตนเองจนได้รับความสำเร็จเป็นนักดนตรีเอกของโลก
      แอดเลอร์ มีความเชื่อว่า ความรู้สึกของตนเองจะแสดงบทบาทที่สำคัญ ในการสร้างรูปแบบของบุคลิกภาพ การรู้จักสร้างตนเอง และบุคลิกภาพแบบที่รู้จักตนเอง ก่อให้เกิดความพยายามที่จะเอาชนะอุปสรรคทั้งหลาย และสามารถพัฒนาศักยภาพของตนเองได้ เพราะว่าศักยภาพนี้เป็นลักษณะพิเศษที่มีอยู่ในแต่ละบุคคล ทรรศนะจิตวิทยาของแอดเลอร์เรียกว่า จิตวิทยาปัจเจกชน (Individual Psychology)
ความรู้สึกเป็นปมด้อย (Feeling of Inferiority) แอดเลอร์ กล่าวว่าบุคคลมีความพิการทางร่างกายมีความพยายามที่จะหาทางชดเชยความบกพร่องของตนเอง โดยการฝึกอบรมอย่างเร่งรีบ เด็กผู้หญิงที่พูดติดอ่าง จะพยายามเอาชนะอุปสรรคการพูดติดอ่าง โดยการพยามยามฝึกหัด จนกระทั่งสักวันหนึ่งเขาก็จะสามารถพูดได้เก่ง บางทีก็อาจจะได้เป็นผู้ประกาศข่าวทางวิทยุกระจาย เสียง เด็กผู้ชายที่มีขาไม่แข็งแรงจะมีความพยายามอุตสาหะฝึกฝนตนเอง ให้กลายเป็นนักวิ่งระยะไกลที่มีชื่อเสียง จากตัวอย่างเด็กหญิงและเด็กชายที่กล่าวมาแล้วนี้ แอดเลอร์มีความเชื่อว่า ปมด้อยมิได้เกิดจากความพิการในตัวของมัน ที่ทำให้เกิดแรงมานะพยายามที่จะเอาชนะปมด้อย แต่ที่จริงแล้วเกิดจากเจตคติของบุคคลที่มีต่อสิ่งนั้น บุคคลที่มีความเป็นอิสระที่จะแปลความหมาย ความบกพร่อง ได้หลายแนวทาง หรือแม้กระทั่งว่าจะไม่ยอมรับรู้เลยก็ได้ ถ้าเขาไม่ยอมรับรู้เลยก็จะไม่ทำให้เกิดความพยายาม ที่จะทำลายพฤติกรรม ทำให้เกิดเป็นปมเขื่อง ชอบแสดงอำนาจความก้าวร้าวเพื่อปิดบังข้อบกพร่องของตน
แอดเลอร์ กล่าวว่า โครงสร้างบุคลิกภาพของบุคคลเกิดขึ้นจากเป้าหมาย 2 ชนิด
1. พยายามปรับตัวให้เข้ากับสังคม (Social Adaptation)
2. พยายามทรงไว้ซึ่งอำนาจ(Attainment of Power)

แนวความคิดตามทฤษฎีของ โรเจอร์ ( Roger's Self Theory )




แนวคิดที่สำคัญ
โ     รเจอร์ส เชื่อว่า มนุษย์มีธรรมชาติที่ดีมีแรงจูงใจในด้านบวก เป็นผู้ที่มีเหตุผล (Rational) เป็นผู้ที่สามารถได้รับการขัดเกลา (Socialized) สามารถตัดสินใจเลือกวิถีชีวิตของตนเองได้ ถ้ามีอิสระเพียงพอ และมีบรรยากาศที่เอื้ออำนวย ซึ่งจะนำไปสู่การพัฒนาตนเองอย่างเต็มศักยภาพ (Full Potential) และพัฒนาไปสู่ทิศทางที่เหมาะสมกับความสามารถของแต่ละบุคคล อันจะนำไปสู่การตระหนักรู้ในตนเองอย่างแท้จริง (Self-Actualization)
 โครงสร้างทางบุคลิกภาพ โครงสร้างบุคลิกภาพของโรเจอร์สประกอบด้วยส่วนสำคัญ 3 ส่วนคือ
          1. อินทรีย์ (The organism) หมายถึง ทั้งหมดที่เป็นตัวบุคคล รวมถึงส่วนทางร่างกาย หรือทางสรีระของบุคคล (Physical Being) ที่ประกอบด้วยความคิด ความรู้สึกที่แสดงปฏิกิริยาตอบต่อสิ่งแวดล้อมซึ่งเป็นการแสดงพฤติกรรมทั้งหมดของบุคคล โดยแสดงพฤติกรรมเพื่อตอบสนองความต้องการ (Needs) ที่เกิดขึ้นภายในตัวบุคคล และทำให้มนุษย์ มีแรงจูงใจที่จะพัฒนาตนเองไปสู่การรู้จักตนเองอย่างแท้จริง (Self-Actualization) นอกจากนี้ มนุษย์จะแสดงพฤติกรรมโดยการนำเอาประสบการณ์เดิมบางอย่างที่เขาให้ความหมาย หรือให้ความสำคัญต่อกับประสบการณ์เดิมบางอย่าง ที่เกิดจากการเรียนรู้ และนำเอาประสบการณ์เหล่านี้มาเป็นสัญลักษณ์ในจิตสำนึกของเขา (Symbolized in the Consciousness) โดยปฏิเสธประสบการณ์บางอย่างดังนั้นผู้ที่มีความสามารถรับรู้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ และให้ความหมายของประสบการณ์ที่ถูกต้องกับความเป็นจริงมากที่สุด จะเป็นผู้ที่สามารถพัฒนาได้ตามปกติ (Normal Development)
            2. ประสบการณ์ทั้งหมดของบุคคล (Phenomenology Field) ที่เป็นสิ่งที่บุคคลจะรู้เฉพาะตนเท่านั้น และประสบการณ์ของบุคคลนี้ จะมีการเปลี่ยนแปลงและเพิ่มพูนอยู่ตลอดเวลา โรเจอร์สอธิบายว่ามนุษย์อยู่ในโลกของการเปลี่ยนแปลง ที่มีตนเองเป็นศูนย์กลางเป็นประสบการณ์ที่อาจเกิดจากสิ่งเร้าภายนอกและสิ่งเร้าภายในตัวบุคคล สามารถแบ่งออกเป็นประสบการณ์ทั้งส่วนที่เกี่ยวข้องกับจิตสำนึก และจิตใต้สำนึกของบุคคล ที่ผ่านเข้ามาในชีวิตของเขา ทั้งเป็นสิ่งที่สื่อสารได้ และทั้งที่สื่อสารไม่ได้ ซึ่งเป็นพลังกระตุ้นให้บุคคลแสดงพฤติกรรมต่างๆ เช่น เด็กร้องไห้เมื่อเห็นสุนัขอาจเกิดจาก เคยถูกสุนัขกัด หรืออาจเคยถูกข่มขู่ให้กลัวสุนัขจนฝังใจหรือประสบการณ์ที่อยู่ในจิตใต้สำนึกบางอย่าง บุคคลไม่สามารถสื่อสารออกมาได้ เพราะอาจถูกเก็บไว้และซ่อนอยู่ภายในจิตใจจนเจ้าตัวไม่สามารถเข้าใจได้ เป็นลักษณะของเงื่อนปมที่ฝังอยู่ภายในจิตใจ โดยทั่วไปแล้วบุคคลจะให้ความหมาย และเลือกรับรู้เฉพาะประสบการณ์ที่สำคัญ โรเจอร์ส ให้ความสำคัญต่อความสามารถในการสื่อสารประสบการณ์เฉพาะตนให้กับผู้อื่นสามารถรับรู้ และเข้าใจได้ จะเป็นแนวทางหนึ่งที่จะนำไปสู่การเข้าใจตนเองของบุคคล ในขณะที่ผู้ที่มีความแปรปรวนทางอารมณ์และบุคลิกภาพ เกิดจากความไม่สามารถในการสื่อสารประสบการณ์เฉพาะตนอย่างเหมาะสมได้

         3. ตัวตน ( The Self )  เป็นศูนย์กลางของบุคลิกภาพ ที่เป็นส่วนของการรับรู้ และค่านิยมเกี่ยวกับตัวเรา ตัวตนพัฒนามาจากกการที่อินทรีย์มีปฏิสัมพันธ์กับสภาพแวดล้อม เป็นประสบการณ์เฉพาะตน ในการพัฒนาตัวตนของบุคคลนั้น บุคคลจะพบว่า มีบางส่วนที่คล้ายและบางส่วนที่แตกต่างไปจากผู้อื่น ตัวตนเป็นส่วนที่ทำให้พฤติกรรมของบุคคลมีความคงเส้นคงวา (Consistency) และประสบการณ์ใดที่ช่วยยืนยันความคิดรวบยอดของตน (Self-concept) ที่บุคคลมีอยู่ บุคคลจะรับรู้ และผสมผสานประสบการณ์นั้นเข้ามาสู่ตนเองได้อย่างไม่มีความคับข้องใจ แต่ประสบการณ์ที่ทำให้บุคคลรู้สึกว่าอัตมโนทัศน์ที่มีอยู่เบี่ยงเบนไปจะทำให้บุคคลเกิดความคับข้องใจที่จะยอมรับประสบการณ์นั้น ความคิดรวบยอดของตนเป็นสิ่งที่มีการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา เพราะบุคคลจะต้องอยู่ในโลกแห่งความเปลี่ยนแปลงโดยมีตัวเอง (Self) เป็นศูนย์กลางในการแสดงพฤติกรรมต่างๆ   

แนวความคิดตามทฤษฎีของ คาเรน ฮอร์นาย ( Karen Horney )



แนวคิดสำคัญ
    แนวความคิดของ Karen Horney คาร์เรน ฮอร์เนย์ นักจิตวิเคราะห์ คาร์เรน ฮอร์เนย์ ได้อธิบายว่ามนุษย์มีความต้องการดังนี้
1-ความต้องการใฝ่สัมพันธ์และการยอมรับยกย่อง ความต้องการที่ไม่แยกแยะ การที่ทำให้ผู้อื่นพอใจและให้เขายอมรับตนเอง (affection and approval)
2.ความต้องการคู่ และต้องการให้มีผู้ที่ดูแลคุ้มครองตนเอง ต้องการความรัก (partner)
3.ความต้องการจำกัดตนเองในวงแคบ ให้มีคนคอยสั่ง (restrict one's life to narrow borders)
4-ความต้องการอำนาจ ที่จะควบคุมผู้อื่น ( need for power, for control over others)
5.ความต้องการมีอิทธิพลเหนือผู้อื่น ( to exploit others and get the better of them)
6.ความต้องการการยอมรับทางสังคม ความภาคภูมิใจ (social recognition or prestige)
7.ความต้องการได้รับการชื่นชมโดยส่วนตัว ต้องการเป็นคนสำคัญ มีค่า (personal admiration)
8.ความต้องการความสำเร็จ ต้องการเป็นที่ 1 (personal achievement.)
9.ความต้องการความเป็นอิสระ (self-sufficiency and independence)
10.ความต้องการความสมบูรณ์สุด (perfection and unassailability)
           คาร์เรน ฮอร์เนย์ เสนอว่ามนุษย์แบ่งออกได้เป็นสามประเภท ตามพื้นฐานของความวิตกกังวลและอาการทางจิตประสาทของมนุษย์ ซึ่งสามารถจัดกลุ่มได้ 3 กลุ่มดังนี้
- การเข้าหาคน (พวกยอมคน) Compliance ได้แก่ ความต้องการที่ 1 ,2 และ 3
- การพุ่งเข้าใส่คน (พวกก้าวร้าว) Aggression ได้แก่ ความต้องการที่ 4-8
-  การหลีกหนีคน (พวกใจลอย) Withdrawal ได้แก่ ความต้องการที่ 9,10 และ 3
    ผลงานวิจัยของฮอร์เนย์พบว่า ไทป์ย่อยในกลุ่มต่าง ๆ เช่น
1.กลุ่มก้าวร้าว มีคนอยู่สามประเภทคือ
คนหลงตัวเอง มนุษย์สมบูรณ์แบบ   คนจองหอง
2.กลุ่มใจลอย แบ่งกลุ่มย่อย คือ
กลุ่มบุคลิก ชอบถอนตัว   ชอบต่อต้าน

3.กลุ่มยอมคน แบ่งย่อยออกเป็น 3 กลุ่มย่อยอีกคือ
พวกรักสนุก   พวกทะยานอยาก   พวกปรับตัว

แนวความคิดตามทฤษฎีของ อีริค ฟรอมม์ ( Erich Fromm )


แนวคิดสำคัญ

    อีริค ฟรอมม์ เชื่อว่ามนุษย์ยุคปัจจุบันต้องเผชิญกับความอ้างว้างเดียวดายด้วยสาเหตุหลายประการเช่น
         1. การที่มนุษย์มีเหตุผลและจินตนาการต่างๆทำให้มนุษย์มีวิวัฒนาการทางอารยธรรมเพิ่มขึ้น ในขณะเดียวกันก็แยกตัวเหินห่างจากธรรมชาติ จากสัตว์โลกพวกอื่นๆและจากบุคคลอื่นๆ
          2. มนุษย์แสวงหาอิสระเสรีทุกขั้นตอนของกระบวนการพัฒนา เมื่อได้มาแล้วก็จำต้องแลกเปลี่ยนด้วยความอ้างว้าง  ตัวอย่างเช่น เด็กวัยรุ่นที่เป็นอิสระพ้นจากความดูแลพ่อแม่ผู้ปกครอง จะพบว่าตัวเองเผชิญความว้าเหว่
          3.พัฒนาการทางเทคโนโลยี่สมัยใหม่ในวัตถุใช้สอยประจำวัน เช่นเครื่องมือเพื่อความบันเทิง เครื่องทุ่นแรงในการทำงาน  ทำใฟห้มนุษย์มีความสัมพันธ์กับผู้อื่นน้อยลง เมื่อต้องติดต่อพูดจาก็มีท่าทีห่างเหินไว้ตัว
     ฟรอมม์เสนอ  ทางแก้ความอ้างว้าง2ประการคือ
        1.สร้างสัมพันธภาพกับเพื่อนมนุษย์บนพื้นฐานความรักสร้างสรรค์( productive Love ) ซึ่งได้แก่
ความเอื้ออาทรต่อกัน
ความรับผิดชอบต่อกันและกัน
ความนับถือซึ่งกันและกัน
ความเข้าใจซึ่งกันและกัน
      2.ยอมตนอ่อนน้อมและทำตัวคล้อยตามสังคม
ฟรอมม์มีความเห็นว่ามนุษย์เราใช้เสรีภาพสร้างสังคมให้ดีขึ้นได้ตามข้อเสนอข้อแรก ส่วนการแก้ไขความอ้างว้างด้วยการทำตัวคล้อยตามสังคมตามข้อเสนอข้อหลังเขาเห็นว่าเป็นการเข้าสู่ความเป็นทาสรูปแบบใหม่นั่นเอง   ในหนังสือ Escape from Freedom ที่เขาเขียนในปี1941 ขณะลัทธินาซีกำลังรุ่งโรจน์ เขาชี้ให้เห็นว่าลัทธิเผด็จการเบ็ดเสร็จนั้นถูกใจคนหมู่มากเพราะมันเสนอจะให้ความมั่นคง(แก่ผู้รู้สึกอ้างว้าง)ความต้องการฟรอมม์กล่าวว่ามนุษย์มีความติองการ5ประการคือ
1.ความต้องการมีสัมพันธภาพ
                เนื่องจากมนุษย์พบกับความอ้างว้างเดียวดายตามเหตุที่ได้กล่าวมาจึงต้องแก้ไขด้วยการสร้างสัมพันธภาพกับคนอื่นๆ วิธีที่ดีงามต้องตั้งอยู่บนพื้นฐานความรักแบบสร้างสรรค์(ความเอื้ออาทรต่อกัน/ความรับผิดชอบต่อกันและกัน/ความนับถือซึ่งกันและกัน/ความเข้าใจซึ่งกันและกัน
2.ความต้องการสร้างสรรค์
            เนื่องจากมนุษย์มทีความสามารถทางสติปัญญาและอารมณ์สูง จึงมีความต้องการสร้างสรรค์สิ่งแวดล้อมของชีวิตแตกต่างกับสัตว์โลกชั้นต่ำ  หากผู้ใดไม่มีความต้องการประเภทนี้ก็มักจะเป็นนักทำลาย เป็นอันตรายต่อผู้อื่นและสังคม
3.ความต้องการมีสังกัด
           คือความต้องการที่จะเป็นส่วนหนึ่งของครอบครัว/ของสังคม/ของโลกความต้องการประเภทนี้ที่น่าพึงพอใจและถูกต้องคือการมีไมตรีจิตกับเพื่อนมนุษย์โดยทั่วไป
4.ความต้องการมีอัตลักษณ์แห่งตน
           คือความต้องการจะเป็นตัวของตัวเอง ความต้องการที่จะรู้จักว่าตัวเองเป็นใคร
5.ความต้องการมีหลักยึดเหนี่ยว
             คือความต้องการที่จะมีหลักสำหรับอ้างอิงความถูกต้องในการกระทำของตนเช่น คำกล่าวอ้างว่าฉันทำอย่างนี้เพราะหัวหน้าสั่งให้ทำหรือฉันต้องมีรถยนต์เพราะไปทำธุระสะดวกขึ้น/  ข้ออ้างเหล่านี้อาจสมเหตุสมผลหรือไม่ก็ได้


แนวความคิดตามทฤษฎีของ อีริค เบอร์น ( Eric Berne )

  



แนวคิดสำคัญ
     

           ปกติแล้วในตัวคนๆ หนึ่งจะประกอบด้วยลักษณะการแสดงออก 3 ส่วน นั่นก็คือ ส่วนที่มีลักษณะคล้ายพ่อแม่ (Parent ego state) ส่วนที่มีลักษณะคล้ายผู้ใหญ่ (Adult ego state) และส่วนที่มีลักษณะคล้ายเด็ก (Child ego state) แต่ละคนจะมีลักษณะแตกต่างกันไปในแต่ละคน และในแต่ละสถานการณ์ บางทีอาจแสดงออกเป็นผู้ใหญ่ บางทีอาจแสดงออกเป็นเด็ก ซึ่งเราจะสามารถสังเกตและวิเคราะห์ได้จากพฤติกรรมการแสดงออกทั้งทางวาจา สีหน้า ท่าทาง การเคลื่อนไหวทางกายต่างๆ

               สภาวะความเป็นพ่อแม่ (Parent ego state “P”)
แน่นอนที่ว่าลักษณะบุคลิกภาพแบบนี้เราจะได้รับถ่ายทอดจากพ่อ แม่ หรือคนที่เลี้ยงดูเรามา ดังนั้นจึงเป็นการแสดงพฤติกรรมของผู้ใหญ่ที่มีต่อเด็กในปกครอง เป็นลักษณะการประเมินคุณค่า ตัดสินใจต่างๆ โดยใช้มาตรฐานทางสังคม ค่านิยม ความเชื่อ วิถีการดำเนินชีวิตมาเป็นเกณฑ์ในการพิจารณาพฤติกรรมของคนอื่น และบางครั้งก็จะมีอคติในการประเมินอันเนื่องจากความเชื่อผิดๆ หรือใช้ประสบการณ์เดิมของตนเข้ามาตัดสิน
              สภาวะความเป็นผู้ใหญ่ (Adult ego state “A”)
เป็นลักษณะบุคลิกภาพที่คล้ายกับเครื่องคอมพิวเตอร์ ซึ่งเป็นแหล่งเก็บข้อมูลที่เป็นข้อเท็จจริงต่างๆ ดังนั้นบุคคลที่มีลักษณะบุคลิกภาพในสภาวะความเป็นผู้ใหญ่มักจะเป็นผู้แสวงหาข้อเท็จจริง แยกแยะปัญหา ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลก่อนพิจารณาตัดสินใจใด ๆ ใช้สติปัญญาพิจารณาความถูกต้องเหมาะสมโดยหลักของเหตุผลไม่มีอารมณ์ความรู้สึกเข้ามาเกี่ยวข้อง จำแนกความเป็นจริงออกจากความคิดเห็น ความเพ้อฝัน ความรู้สึกหรือขนบธรรมเนียมประเพณีได้อย่างเหมาะสม มักจะตรวจสอบสถานการณ์ต่าง ๆ ด้วยคำถามว่า อะไรทำไมอย่างไรที่ไหนเมื่อไร” อยู่เสมอ
เราสังเกตได้จากพฤติกรรมที่แสดงออก เช่น ท่าทางตั้งใจ สนใจ รับข้อมูลต่างๆท่าทางเอาใจใส่ มุ่งมั่นในการทำงาน

             สภาวะความเป็นเด็ก (Child ego state “C”)
จะเป็นลักษณะบุคลิกภาพที่แสดงถึงความคิดความรู้สึกที่แท้จริงของคน เป็นอารมณ์ตามธรรมชาติของเด็กในวัย 0 – 7 ปี ที่แสวงหาความสุข ความพึงพอใจให้กับตนเอง และแสดงความรู้สึกที่เกิดขึ้นในขณะนั้นทันทีทันใด เป็นการเปิดเผยอารมณ์ ความรู้สึกในสถานการณ์ต่างๆ ตามที่อยากจะเป็น เช่น ตื่นเต้น ตกใจ ดีใจ มีความสุข โกรธ อาย กลัว อิจฉา ไม่พอใจ ไม่กล้าแสดงออก เห็นแก่ตัว ไวต่อการรับรู้ นอกจากนั้นเป็นลักษณะบุคลิกภาพที่พัฒนาขึ้นหลังจากได้รับการอบรม ขัดเกลาจากพ่อแม่ผู้ปกครอง ทำให้รู้จักไตร่ตรองยอมรับฟัง ยอมทำตาม เชื่อฟัง ชอบพึ่งพาผู้อื่น ไม่กล้าตัดสินใจ
สังเกตได้จากพฤติกรรมที่แสดงออก อย่างเช่น กระทืบเท้า ร้องไห้ ขว้างปาสิ่งของ ตบมือ กระโดดโลดเต้น แสดงอาการดีใจ กริยายอมจำนน ยอมตาม ปฏิบัติตามคำสั่ง อาการเหงา หลบมุม หรือแม้กระทั่งการตกแต่งรถติดสติคเกอร์ ประดับรถด้วยรูปภาพ และถ้อยคำต่างๆ

                 ทัศนะในชีวิต (Life Position)
ในบรรดาประสบการณ์ทั้งหลายซึ่งมีอิทธิพลต่อชีวิตของเรานั้น ไม่มีอะไรสำคัญยิ่งไปกว่าความคิดเห็นเบื้องต้นที่เรามีต่อตนเองและต่อผู้อื่นที่อยู่รอบ ๆ ตัวเรา ความคิดเห็นเหล่านี้ส่วนใหญ่มีต้นกำเนิดมาจากความใส่ใจที่เราได้รับ และความใส่ใจที่เราเรียนรู้ที่จะให้แก่ผู้อื่น (อ่านรายละเอียดในบทความเรื่องความเอาใจใส่/เกมชีวิตและบทบาทชีวิต) ความคิดเห็นดังกล่าวนี้มีอิทธิพลยิ่งกว่าความคิดเห็นทั่ว ๆ ไปที่เราจะมีในระยะต่อมา ทัศนะในชีวิตแบ่งเป็น 4 ทัศนะ คือ

              “I’m not OK – You’re OK”
เป็นทัศนะที่ดูเหมือนว่าเป็นปกติธรรมดามาก เรามักจะมีทัศนะนี้ด้วยการบันทึกคำพูดต่าง ๆ ที่ได้ยินเกี่ยวกับตัวเองซึ่งทำให้รู้สึกท้อแท้และต่ำต้อย คำพูดเช่นว่านี้ได้แก่ เธอน่ะโง่” “เธอน่ะขี้เกียจ” หรือ ลูกน่ะไม่เคยทำอะไรถูกเลย” ทัศนะเหล่านี้ถูกสนับสนุนว่าเป็นจริงด้วยวิธีการที่คนอื่น ๆ ปฏิบัติต่อเราด้วย เมื่อข้อมูลเหล่านี้ถูกประมวลลงในเทปที่เราบันทึกไว้ เรา ๆ ก็จะสรุปว่า ฉันโง่” “ฉันขี้เกียจ” หรือ ฉันไม่เคยทำอะไรถูกเลย” และถ้าเรามิได้เป็นเช่นนี้มาก่อนอีกไม่นานก็จะกลายเป็นเช่นนี้ได้ในที่สุด

                “I’m not OK – You’re not OK”
เป็นทัศนะที่ไม่มีใครดีเลยสักคนเดียวในโลกนี้แม้แต่ตนเอง ทัศนะนี้มักจะปลูกฝังมาตั้งแต่เด็กโดยการที่ถูกลืมจากคนจากบุคคลรอบข้าง ไม่เคยได้รับความเอาใจใส่หรือสนใจจากผู้ใด และจากสถานการณ์ที่ถูกทอดทิ้งดำเนินติดต่อกันไปเรื่อย ๆ โดยไม่มีการเปลี่ยนแปลง ย่อมเป็นเหตุให้สรุปได้เลยว่า คนอื่น ๆ นั้นไม่ดี (You’re not OK) เพราะคนเหล่านั้นไม่ให้การใส่ใจแก่เขา และตัวเขาก็ไม่ดีด้วย (I’m not OK) ทัศนะเช่นนี้ถ้าเกิดขึ้นอย่างรุนแรงอาจนำไปสู่การฆ่าตัวตาย เพราะว่าชีวิตนี้ไม่มีค่า มีแต่ความเลวร้ายจนไม่อาจจะทนอยู่ในสภาพเหล่านี้ได้อีกต่อไป

              “I’m OK – You’re OK”
เป็นทัศนะเดียวเท่านั้นที่มีลักษณะสร้างสรรค์ บุคคลจะมีทัศนะนี้โดยอัตโนมัติถ้าเขาเจริญเติบโตมาในสภาพแวดล้อมที่เขาได้รับการใส่ใจทางบวกอย่างไม่มีเงื่อนไข รวมทั้งการใส่ใจอย่างมีเงื่อนไขเพื่อความเจริญงอกงามไปตามขั้นตอนตามพัฒนาการของเขา บุคคลเหล่านี้จะเชื่อมั่นในตนเอง แต่ก็เห็นคุณค่าของผู้อื่น พร้อมที่จะยอมรับฟังความคิดเห็นและสามารถปรับตัวให้อยู่ในสังคมได้โดยไม่เกิดความขัดแย้งภายในตนเองและกับผู้อื่น

             “I’m OK – You’re not OK”
ทัศนะนี้อาจเกิดขึ้นจากประสบการณ์ในชีวิตที่ถูกกระทบกระเทือน อาจเป็นทางด้านกายภาพและทางด้านจิตใจ ซึ่งเป็นสาเหตุให้คนเปลี่ยนทัศนะเดิมที่เคยมีมาก่อนจาก “I’m OK – You’re OK” มาเป็น “I’m OK – You’re not OK” นักวิชาการชี้ว่าบุคคลที่มีประสบการณ์ถูกทำร้ายหรือกระทบกระเทือนจิตใจ และคนนั้นผ่านประสบการณ์ที่ต่อสู้ดิ้นรนเพื่อความอยู่รอดมาได้ หากกรณีเช่นนี้เกิดขึ้นรุนแรงหรือบ่อยครั้งจะทำให้คนมีความรู้สึกว่า ฉันจะเป็นคนดีถ้าปล่อยฉันไว้ตามลำพัง…” “ฉันเป็นคนดีได้ด้วยตัวของฉันเอง…”ดังนั้นคนผู้นี้จะมองคนอื่นด้อยกว่า ไม่ดีพอหรือไม่มีความสามารถพอ ทำให้กลายเป็นคนที่ไม่เชื่อใจ และไม่ฟังความคิดเห็นผู้อื่น